วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นางสาวกวินนาฏ มีฤทธิ์ เลขที่ 3
นางสาวสุธาสินี นิลสนธิ เลขที่ 5
นางสาวฐนิดา คงประหัด เลขที่ 8
นางสาวพรณุพา แสงสว่าง เลขที่ 10
นางสาวพิมพ์นภัท จีระบุญธนรักษ์ เลขที่ 11
นางสาวสุนทรีย์ ยอดนิล เลขที่ 13
นางสาวนภัสวรรณ อินอิ่ม เลขที่ 25

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
ทอเสื่อกก


                เริ่มต้นจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย มีการนำเส้นกกมาทอเป็นของใช้ในครัวเรือน เช่น การทอเสื่อ แต่ละครัวเรือนจะเก็บไว้ใช้เอง ยังไม่มีการจำหน่าย ต่อมานโยบายรัฐบาลส่งเสริมให้หมู่บ้านมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพโดยการค้นหาอาชีพที่คนในชุมชนได้มีกำไรผลิตขึ้นเองภายในชุมชนชาวบ้าน โดยการนำของกลุ่มสตรีได้เลือกอาชีพการทอเสื่อกกเป็นอาชีพเสริม

          การทอเสื่อกก บ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดสมสมบูรณ์หมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำคือ บึงแพง ซึ่งเป็นแหล่งที่มีต้นผือขึ้นตามธรรมชาติมากมาย ซึ่งต้นผือนี้ชาวบ้านนิยมนำมาเป็นวัสดุในการทอเสื่อ เพื่อใช้ในครัวเรือนต่อมามีการผลิตมากขึ้น และเป็นของฝากให้กับญาติพี่น้องที่มาเยี่ยมเยียนกัน เริ่มแรกไม่มีการใช้สี ต่อมาก็มีการใช้สีธรรมชาติและเกิดแห้งแล้ง ชาวบ้านแพงจึงได้เดินทางไปเอาต้นกกมาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาปลูกไว้ที่บึงบ้านแพงเพื่อนำมาทอเสื่อกก ชาวบ้านเห็นว่าการทอเสื่อกกได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สตรีในหมู่บ้านจึงได้มีแนวคิดที่จะรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อรวมกันผลิตเสื่อกกเป็นสินค้าของหมู่บ้าน มีการทำสีย้อมจากธรรมชาติเอง และคิดลายเสื่อเพื่อให้เป็นอัตลักษณ์และจุดเด่นของชุมชน ภูมิปัญญาด้านการทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาด้านหนึ่งที่ชุมชนได้สืบทอดและอนุรักษ์ไว้ เนื่องจากการผลิตใช้วัตถุดิบในชุมชน ได้แก่ ต้นกก ต้นผือ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การผลิตทุกขั้นตอนใช้แรงงานของคนในชุมชนผลิตเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านแพงที่ผูกพันกับเสื่อกก จึงมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่รุ่นลูกหลาน จึงเกิดความผูกพันเหมือนญาติพี่น้อง อีกทั้งมีการลงหุ้นดำเนินการลักษณะของกลุ่มจึงเกิดความเข็มแข็ง อีกทั้งยังได้เป็นสินค้าโอทอปอีกด้วย

                การทอเสื่อกกนั้นเป็นภูมิปัญญาไทยที่ควรรักษา สืบทอด และพัฒนาต่อไป เพราะเสื่อกก เป็นของใช้ที่ทุกครัวเรือนต้องมีไว้เพื่อใช้สอย กล่าวได้ว่าเป็นสิ่งของอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องมีไว้ประจำครัวเรือนและเป็นการใช้แรงงานภายในในหมู่บ้าน เนื่องจากว่าการผลิตจะทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ สามารถทำได้และถ่ายทอด เรียนรู้ได้ง่าย ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

การทำไม้กวาดดอกหญ้า


ครอบครัวหนึ่งมีพ่อหน่อง แม่หน่อย ลูกนิด และตาศรี อาศัยอยู่ด้วยกันด้วยความยากลำบาก เพราะมีเพียงพ่อหน่องที่หาเลี้ยงชีพทุกคน เนื่องจากแม่หน่อยต้องคอยดูแลพ่อที่เดินไม่ได้ ส่วนนิดที่เป็นลูกก็มีหน้าที่ที่ต้องงเรียนหนังสือ ทำให้พ่อหน่อยหาเงินมาเลี้ยงชีพไม่พอกับรายจ่ายของครอบครัว ลูกนิดจึงคิดที่จะช่วยหารายได้อีกทางหนึ่งแต่กลับคิดไม่ออกว่าจะทำอะไรดี
                เช้าวันรุ่งขึ้นนิดตื่นขึ้นมาเห็นแม่กำลังกวาดบ้านอยู่ นิดจึงถามแม่ว่า
แม่ค่ะทำไมเราต้องกวาดบ้านทุกวันด้วยล่ะค่ะ” แม่เลยบอกกับนิดว่า “เราต้องอาศัยอยู่ที่บ้านเกือบทั้งวัน ถ้าเราไม่ทำความสะอาดบ้านก็จะมีฝุ่น มีสิ่งสกปรก ที่ทำให้เราป่วยได้” นิดจึงคิดออกแล้วว่าจะช่วยพ่อหารายได้พิเศษโดยการทำไม้กวาดดอกหญ้า เพราะไม้กวาดจำเป็นสำหรับทุกบ้านน่าจะขายได้ดี และได้กำไรมากเพราะหลังบ้านก็ปลูกต้นดอกหญ้า และต้นไผ่ไว้ที่หลังบ้านอยู่แล้ว ไม่ต้องไปซื้อหา
                นิดเลยถามแม่ว่า แม่ค่ะแม่ทำไม้กวาดดอกหญ้าเป็นหรือป่าวค่ะ แม่จึงบอกว่าแม่ทำไม่เป็นหรอกแต่ตาศรีทำเป็น แต่ตอนนี้ตาเดินไม่ได้ ลูกถามแม่ทำไมล่ะ นิดจึงบอกว่านิดอยากจะทำไม้กวาดดอกหญ้าไปขายเพื่อที่จะช่วยพ่อหารายได้เสริมอีกทางหนึ่ง แม่จึงเห็นด้วยกับนิดว่าจะช่วยกันทำไม้กวาดดอกหญ้า เลยไปขอให้ตาช่วยสอน ตาก็เต็มใจที่จะสอนนิดกับแม่
                ตาศรีจึงให้แม่หน่อยไปเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งมี 
เข็มเย็บกระสอบ เชือกฟาง มีด น้ำมันยาง ตะปูขนาด 1 นิ้ว ไม้ไผ่และดอกหญ้า แล้วตาศรีก็เริ่มสอนทั้งสองคน โดยขั้นแรกตาให้นิดนำดอกหญ้าไปตากแดดให้แห้ง พอแห้งแล้วนิดจึงถามตาว่าแล้วต้องทำอะไรต่อค่ะ ตาจึงบอกว่าดอกหญ้ามาตีหรือฟาดกับพื้น เพื่อให้ดอกหญ้าดอกเล็กๆหลุดออก ให้เหลือก้านเล็กๆ จากนั้นนิดกับแม่ก็ต้องนำก้านเล็กๆมามัดรวมกันประมาณ 1 กำมือ แล้วใช้เชือกฟางสอยเข้ากับเข็มเย็บกระสอบแล้วแทงเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า แต่ต้องระวังเข็มจะแทงมือนะ แล้วถักไปมาประมาณ 3-4 ชั้นพร้อมทั้งจัดดอกหญ้าให้แบนราบ ใช้มีดตัดโคนให้เสมอเป็นระเบียบสวยงาม นิดจึงถามตาว่านิดทำสวยมั้ยค่ะว่าแต่ทำไมของนิดมันไม่แน่นเหมือนของแม่ล่ะค่ะตา ตาเลยบอกว่าก็มันยังไม่เสร็จนิ ต้องนำไม้ไผ่เสียบตรงกลางแล้วตอกตะปูขนาด 1 นิ้ว 2 ตัวก่อน เพื่อให้มัดดอกหญ้ากับด้ามไม้ไผ่ให้แน่น แล้วใช้น้ำมันยางทาโดยจุ่มและทาบริเวณที่เป็นเชือกฟางเพื่อที่จะไม่ให้เชือกฟางหลุดออกจากกัน จึงจะพร้อมใช้งานได้ 
               
หลังจากทำเสร็จนิดดีใจมากและได้บอกกับตาและแม่ว่าหนูจะนำไปขายให้หมดเลย นิดจึงออกไปขายไม้กวาดดอกหญ้าที่ตลาดนัดหน้าหมู่บ้าน ทุกคนที่มาเดินตลาดสนใจเป็นอย่างมาก ไม้กวาดที่นิดกับแม่ทำจึงขายหมด นิดจึงนำเงินทั้งหมดที่ขายได้มาให้แม่กับตา เพื่อที่จะได้ทำเงินมาซื้อข้าวกิน หลังจากนั้น
เป็นต้นมาแม่กับนิดก็ได้ทำไม้กวาดดอกหญ้าไปขายทุกๆอาทิตย์
เครื่องปั้นดินเผา


หลายคนมักจะมองชุมชนชนบทว่าเป็นชุมชนที่ล้าหลัง ทั้งด้านความคิด ความเป็นอยู่ หรือแม้แต่ปัจจัยในการดำเนินชีวิต  แต่ถ้าหากมองให้ลึกลงไปแล้วจะเห็นได้ว่ายังคงมีสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งนักต่อการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นสิ่งที่สั่งสมกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน เครื่องปั้นดินเผาเป็นงานหัตถกรรม ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์มาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย มนุษย์นำเครื่องปั้นดินเผามาใช้ในด้านเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การก่อสร้าง ตลอดจนการใช้ประกอบในพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆ
                หมู่บ้านมอญ ตั้งอยู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษ เมื่อก่อนตำบลนี้มีชื่อเรียกว่าบ้านเก่งเนื่องจากคนในบริเวณนี้มีความสามารถในการต่อสู้มาก เลยได้รับการกล่าวขานว่าบ้านเก่ง และได้เปลี่ยนเป็นบ้านแก่งชุมชนชาวมอญได้อพยพมาจากอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และได้มาพบแหล่งดินเหนียวที่มีคุณสมบัติในการปั้นโอ่งมาก เนื่องจากชาวบ้านที่อพยพมานี้มีความสามารถในการปั้นโอ่งเป็นอาชีพหลัก จึงได้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ ณ บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านมอญจนถึงปัจจุบัน  ทรัพยากรที่สำคัญโดยเฉพาะดิน อยู่บริเวณบึงเขาดิน ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ซึ่งมีการจัดสรรดินจากหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากบริเวณบึงเขาดินเป็นที่สาธารณประโยชน์ เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ปกคลุมด้วยวัชพืช

                เครื่องปั้นดินเผา มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์มีความสามารถในการผลิตภาชนะรูปทรงต่างๆ ด้วยการปั้นขึ้นรูปจากดินเหนียว แล้วนำไปเผาไฟ ช่วยให้เกิดความแข็งแรง ทนทาน  ในการขึ้นรูปดินนั้นต้องใช้ความชำนาญและเชี่ยวชาญป็นพิเศษ  มิเช่นนั้นจะทำให้ดินที่จะก่อรูปเกิดการเสียหาย  ซึ่งคนงานจะแบ่งงานกันตามหน้าที่  ตามความชำนาญของแต่ละคน  ซึ่งคนงานในนั้นก็จะเป็นญาติกันซะส่วนใหญ่  ในการเผานั้นต้องใช้เวลาเผานานถึง 3 วัน 3 คืน  ด้วยอุณหภูมิที่  900 องศาเซลเซียส   เป็นงานที่ต้องใช้ความใส่ใจและต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมากเพราะในช่วง ตอนกลางคืนก็ต้องคอยมองเวลาในการเติมเชื้อเพลิงเพื่อไม่ให้เครื่องปั้นเกิดการชำรุดเสียหาย โดยมีการประยุกต์รูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และมีการพัฒนาสีสัน ลวดลาย สวยงามทันสมัย น่าใช้ยิ่งขึ้น แต่ยังสามารถรักษาธรรมเนียมปฏิบัติตามความเชื่อของบรรพบุรุษที่เกี่ยวกับการทำงานของช่างปั้น ซึ่งมีอิทธิพลต่อผลงานและจิตใจของผู้ปั้น การทำเครื่องปั้นดินเผาทำให้คนภายในชุมชนเกิดความสามัคคีกัน ช่วยกันคิดช่วยกันออกแบบเครื่องปั้นดินเผาให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ผู้คนสนใจในรูปแบบและลวดลายที่สวยงามมากขึ้น จัดทำให้มีขนาดที่ต่างกันเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยของผู้บริโภค และเป็นการช่วยเพื่อรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย
เครื่องจักสาน


              ภูมิปัญญาที่ทุกคนล้วนรู้จักนี้ คือ งานจักสาน ซึ่งเป็นงานจักสานที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ส่วนใหญ่มักจะเริ่มทำกันในครอบครัว โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานจักสาน  เช่น ให้ช่วยผ่าไม้ไผ่ จักตอก และหัดสาน เล็กๆน้อยๆ จนเกิดความชำนาญและรักในงานจักสานนี้ เดิมทีผลิตภัณฑ์ที่สานส่วนมากจะใช้ในครัวเรือน เช่น กระบุง ตะกร้า กระด้ง สุ่ม บุ้งกี๋ เป็นต้น                งานจักสานในจังหวัดนครสวรรค์ เกิดจากชาวบ้านในตำบลยางขาว นำไม้ไผ่มาจักเป็นเพื่อสานเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุที่ชาวบ้านใช้ส่วนมาก คือ ไม้ไผ่สีสุกและหวายที่หาได้จากตามป่าตามเขาในหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านเกิดความคิดในการตั้งเป็นกลุ่มการจักสาน งานจักสานเป็นงานที่ละเอียดประณีต ดังนั้นงานจักสานไม้ไผ่บ้านยางขาว จึงเป็นฝีมือของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง และการที่เราเราเรียกเครื่องจักสาน ว่า จักสานนั้น เป็นคำที่เรียกขึ้นตามขึ้นตามวิธีการที่ทำให้เกิดเครื่องจักสานเพราะเครื่องจักสานต่างๆ จะสำเร็จ เป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ได้นั้นต้องผ่านกระบวนการคือ การจัก การสาน และการถัก ซึ่งการที่เราสามารถผลิตขึ้นมาได้เองนั้นช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย จะเห็นได้ว่าวัสดุตามธรรมชาติต่างก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกัน                งานจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทุกคนสามารถทำได้ หากเรามีความรู้และรักในงานงานนี้ ความสำเร็จในการทำงานจักสานนี้ก็จะประสบผลสำเร็จได้ดีด้วยเช่นกัน และเราควรที่จะรักษาภูมิปัญญานี้ไว้เพื่อให้ลูกหลานรู้จักและรักในงานจักสาน


เสื่อหวายบ้านเกาะหงส


เสื่อหวาย  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ  ทั้งนี้เพราะต้นหวายเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นหวายมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อหวายถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง  ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต
การทอเสื่อหวาย จัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมอย่างหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์ หมู่บ้านที่ทอเสื่อหวายกันมาก ได้แก่ บ้านเกาะหงส์ จังหวัดนครสวรรค์ นิยมใช้หวายขม กับ หวายน้ำ เป็นวัสดุในการผลิต ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมการทอเสื่อหวาย เพราะวัสดุหายาก อีกทั้งเมื่อผลิตแล้วขายยาก ต้นหวายที่ใช้ในการทอเสื่อหวายจะใช้เฉพาะส่วนที่เป็นผิวหวายเท่านั้น เพราะบริเวณผิวหวายมีความแข็งแรง ส่วนเนื้อด้านในลำต้นจึงต้องเหลา  แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน  ในการผลิตเสื่อหวายสมัยก่อนใช้วัสดุในการผลิต ๒ อย่างเท่านั้น คือ หวายและปอแสลงพัน แต่ปัจจุบันนี้มีการใช้ด้ายสีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มสีสันให้สวยงาม และเชือกไนล่อนเส้นเล็กในการเก็บหัวเสื่อ การท่อเสื่อหวายนั้นเพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน  หรือทำธุรกรรมต่างๆ  ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ
                ที่
ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์  คือภูมิภาคหนึ่งที่มีการสืบสานภูมิปัญญาทางด้านการทอเสื่อหวายนี้มายาวนาน จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อื่นเข้ามาทดแทนการใช้เสื่อหวายมากมายให้เลือก นับตั้งแต่เสื่อน้ำมัน พรม กระเบื้องปูพื้น  และอื่นๆ  ทำให้กระแสความนิยมในการใช้เสื่อหวายลดลง  และคนรุ่นใหม่ก็สนใจในภูมิรู้ด้านนี้น้อย


การใช้สมุนไพร


                ปัจจุบันคนส่วนมากมีการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ ทำให้การพัฒนาด้านภูมิปัญญาไม่ยั่งยืน
โดยสาเหตุมาจากแนวคิดที่แตกต่างซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาสมัยใหม่
โดยจะส่งผลกระทบ
ต่อ
วัฒนธรรมด้านสุขภาพอนามัยและการรักษาพยาบาล คือการรักษาพยาบาลโดยใช้สมุนไพรแบบดั้งเดิมนั้นมักจะใช้ควบคู่ไปกับพิธีกรรมและเวทย์มนต์คาถา จึงทำให้แพทย์แผนใหม่มองว่าการแพทย์พื้นบ้าน
เป็นเรื่องงมงาย ไร้สาระ
ความรู้ด้านสมุนไพรจึงถูกมองว่าไม่มีความน่าเชื่อถือ จนกระทั่งอุตสาหกรรมยา
ในประเทศตะวันตกเริ่มให้ความสนใจสนับสนุนให้ทุนวิจัยค้นคว้าตัวยาจากสมุนไพร เพื่อผลิตเป็นยาและเคมีภัณฑ์ใหม่ๆออกมาขาย จึงทำให้ผู้คนสนใจในเรื่องการศึกษาวิจัยสมุนไพรอย่างแพร่หลาย

                การรักษาโดยระบบการแพทย์พื้นบ้านเป็นระบบการรักษาโรคแบบประสบการณ์ของชุมชนที่ได้รับการสั่งสมถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มีความหลากหลายแตกต่างกันไปแต่ละสังคมวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ ได้มีการพัฒนาการใช้สมุนไพรในระบบการแพทย์พื้นบ้านมาอย่างต่อเนื่อง โดยถือว่าสมุนไพรเป็นรูปแบบการรักษาหลักของระบบการแพทย์พื้นบ้าน และสมุนไพรยังคงมีบทบาทในการดูแลสุขภาพ
ของประชาชนมาโดยตลอด คนไทยโบราณจึงผูกพันกับหมอพื้นบ้านและยาสมุนไพรในการดูแลรักษาสุขภาพของชุมชน
เพราะสมุนไพรนอกจากใช้เป็นยารักษา บรรเทาอาการของผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ที่ยังไม่ป่วย ทำให้เกิดสมดุลของการทำงานของร่างกาย เสริมภูมิต้านทานและป้องกันโรค
บางชนิดได้ด้วย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรของคนในสมัยก่อนนั้นจะมีการใช้สมุนไพรโดยกินเป็นอาหารก่อนเป็นลำดับแรก  ซึ่งมีคำพูดประโยคหนึ่งที่มักจะได้ยินคนในสมัยก่อนพูดเสมอว่า 
กินปลาเป็นหลัก  กินผักเป็นยา  กินกล้วยน้ำหว้า  บำรุงร่างกาย”  ซึ่งจากประโยคนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการกินที่บ่งบอกว่ากินเพื่อให้เป็นสมุนไพรช่วยในการรักษาโรค เช่น ที่ ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา
.สมุทรสงคราม มีการนำฟ้าทะลายโจรมาต้มดื่มเพื่อต้านไข้หวัดเพราะฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณที่สามารถช่วยต้านไข้หวัดได้ ขั้นตอนในการทำและวิธีในการรับประทานก็ง่ายไม่ซับซ้อน เริ่มจากการเด็ดใบของต้นฟ้าทะลายโจรมาประมาณ 15 ใบ นำมาต้มจนได้ที่ จากนั้นจึงนำมาดื่ม โดยให้ดื่มในตอนเช้าประมาณ
ครึ่งแก้ว อาทิตย์ละประมาณ 3 ครั้ง ก็จะสามารถช่วยรักษาไข้ ระงับอาการอักเสบ เช่น ไอ เจ็บคอ
ต่อมทอนซิลอักเสบ รวมทั้งแก้อาการติดเชื้อ และยังใช้เป็นยาขมเจริญอาหารได้ด้วย
ากการที่สมุนไพรได้รับความนิยมและสนใจมากขึ้นจึงส่งผลให้การแพทย์แผนไทยมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ทำให้สมุนไพรมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาได้อาศัยสมุนไพรและยาแผนโบราณจากสมุนไพร สำหรับการรักษาในเบื้องต้นด้วย
กระดาษสา


กระดาษสา เป็นกระดาษพื้นเมืองทางภาคเหนือที่ผลิตด้วยมือวิธีการทำกระดาษสาถูกเผยแพร่เข้ามา พร้อมกับพุทธศาสนาจากประเทศจีน เพื่อใช้ทำบันทึกคำสั่งสอนดังนั้นการใช้กระดาษสาของชาวพื้นเมืองทางภาคเหนือ จึงเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอย่างมากกล่าวคือ การตกแต่งถวายทานแทบทุกประเภท จะตกแต่งด้วยกระดาษสาทาสีต่าง ๆให้สวยงาม เพื่อใช้ในงานเทศกาลต่างๆ ของวัด และพิธีกรรมต่าง ๆ
ในจังหวัดนครสวรรค์ก็มีการผลิตกระดาษสาที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ วัตถุดิบที่นำมาทำคือ ใยกล้วย ซึ่งใยกล้วยนั้นได้มาจากการทำไร่กล้วยของชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจของตำบล ชาวบ้านเห็นว่าต้นกล้วยที่เหลือจากการตัดเครือแล้ว น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่ฟันต้นทิ้ง จึงรวมกลุ่มแม่บ้านช่วยกันคิดค้นผลิตภัณฑ์จากต้นกล้วยคือใยกล้วยสามารถนำมาทำกระดาษสาได้ ซึ่งคุณสมบัติของใยกล้วยคือ มีความคงทนและยึดเกาะกันได้ดี วิธีทำกระดาษก็ง่าย วัสดุมีทุกครัวเรือน เมื่อได้กระดาษสาแล้วสามารถนำไปแปรรูปเป็นของใช้ในครัวเรือน หรือของตกแต่งภายในบ้าน เช่น กล่องใส่ทิชชู่ ดอกไม้ประดับ ปกสมุด เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านได้อีกด้วย
  
ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้จากการคิดนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาผลิตให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังทำให้เกิดการรวมกลุ่มในชุมชนให้มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีคุณค่าและมีความทันสมัย
 
นางสาวกวินนาฏ มีฤทธิ์ เลขที่ 3
นางสาวสุธาสินี นิลสนธิ เลขที่ 5
นางสาวฐนิดา คงประหัด เลขที่ 8
นางสาวพรณุพา แสงสว่าง เลขที่ 10
นางสาวพิมพ์นภัท จีระบุญธนรักษ์ เลขที่ 11
นางสาวสุนทรีย์ ยอดนิล เลขที่ 13
นางสาวนภัสวรรณ อินอิ่ม เลขที่ 25
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1