กระดาษสา
กระดาษสา เป็นกระดาษพื้นเมืองทางภาคเหนือที่ผลิตด้วยมือวิธีการทำกระดาษสาถูกเผยแพร่เข้ามา
พร้อมกับพุทธศาสนาจากประเทศจีน
เพื่อใช้ทำบันทึกคำสั่งสอนดังนั้นการใช้กระดาษสาของชาวพื้นเมืองทางภาคเหนือ
จึงเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอย่างมากกล่าวคือ การตกแต่งถวายทานแทบทุกประเภท
จะตกแต่งด้วยกระดาษสาทาสีต่าง ๆให้สวยงาม เพื่อใช้ในงานเทศกาลต่างๆ ของวัด
และพิธีกรรมต่าง ๆ
ในจังหวัดนครสวรรค์ก็มีการผลิตกระดาษสาที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ วัตถุดิบที่นำมาทำคือ ใยกล้วย ซึ่งใยกล้วยนั้นได้มาจากการทำไร่กล้วยของชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจของตำบล ชาวบ้านเห็นว่าต้นกล้วยที่เหลือจากการตัดเครือแล้ว น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่ฟันต้นทิ้ง จึงรวมกลุ่มแม่บ้านช่วยกันคิดค้นผลิตภัณฑ์จากต้นกล้วยคือใยกล้วยสามารถนำมาทำกระดาษสาได้ ซึ่งคุณสมบัติของใยกล้วยคือ มีความคงทนและยึดเกาะกันได้ดี วิธีทำกระดาษก็ง่าย วัสดุมีทุกครัวเรือน เมื่อได้กระดาษสาแล้วสามารถนำไปแปรรูปเป็นของใช้ในครัวเรือน หรือของตกแต่งภายในบ้าน เช่น กล่องใส่ทิชชู่ ดอกไม้ประดับ ปกสมุด เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านได้อีกด้วย
ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้จากการคิดนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาผลิตให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังทำให้เกิดการรวมกลุ่มในชุมชนให้มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีคุณค่าและมีความทันสมัย
ในจังหวัดนครสวรรค์ก็มีการผลิตกระดาษสาที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ วัตถุดิบที่นำมาทำคือ ใยกล้วย ซึ่งใยกล้วยนั้นได้มาจากการทำไร่กล้วยของชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจของตำบล ชาวบ้านเห็นว่าต้นกล้วยที่เหลือจากการตัดเครือแล้ว น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่ฟันต้นทิ้ง จึงรวมกลุ่มแม่บ้านช่วยกันคิดค้นผลิตภัณฑ์จากต้นกล้วยคือใยกล้วยสามารถนำมาทำกระดาษสาได้ ซึ่งคุณสมบัติของใยกล้วยคือ มีความคงทนและยึดเกาะกันได้ดี วิธีทำกระดาษก็ง่าย วัสดุมีทุกครัวเรือน เมื่อได้กระดาษสาแล้วสามารถนำไปแปรรูปเป็นของใช้ในครัวเรือน หรือของตกแต่งภายในบ้าน เช่น กล่องใส่ทิชชู่ ดอกไม้ประดับ ปกสมุด เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านได้อีกด้วย
ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้จากการคิดนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาผลิตให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังทำให้เกิดการรวมกลุ่มในชุมชนให้มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีคุณค่าและมีความทันสมัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น